เมนู

2. อารัมมณปัจจัย


[1570] 1. ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตา-
รัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้วพิจารณา
กุศลกรรมนั้น.
พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน.
พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นปริตตารัมมณธรรม,
พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว, รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน.
พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรม โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะ
ปรารภขันธ์นั้น ราคะที่เป็นปริตตารัมมณธรรม ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัส
ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยปริตตารัมมณปริตตจิต ด้วย
เจโตปริยญาณ.
ปริตตขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริย-
ญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ
แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[1571] 2. ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตา-
รัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลพิจารณาทิพยจักษุ พิจารณาทิพโสตธาตุ พิจารณาอิทธิวิธ-
ญาณที่เป็นปริตตารัมมณธรรม พิจารณาเจโตปริยญาณ ฯลฯ พิจารณาปุพเพ-
นิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ พิจารณายถากัมมูปคญาณ ฯลฯ พิจารณาอนาคตังส-
ญาณ.
บุคคลพิจารณาเห็นมหัคคตขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรม
โดยของความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภ
ขันธ์นั้น ราคะที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมหัคคตจิต ที่เป็นปริตตา-
รัมมณธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.
มหัคคตขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโต-
ปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[1572] 3. มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตา-
รัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ ฯลฯ พิจารณาวิญญานัญจายตนะ พิจารณาเนวสัญญานา-
สัญญายตนะ พิจารณาอิทธิวิญญาณ ที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม พิจารณา
เจโตปริยญาณ พิจารณาปุพเพนิวาสานุสสติญาณ พิจารณายถากัมมูปคญาณ
พิจารณาอนาคตังสญาณ.
บุคคลพิจารณาเห็นมหัคคตขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภ
ขันธ์นั้น ราคะที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมหัคคตจิตที่เป็นมหัคคตา-
รัมมณธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.
มหัคคตขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโต-
ปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ
แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[1577] 4. มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตา-
รัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลพิจารณาปฐมฌานปัจจเวกขณะฯลฯ พิจารณาเนวสัญญานา-
สัญญายตนปัจจเวกขณะ พิจารณาทิพพจักขุปัจจเวกขณะ พิจารณาทิพพโสต-
ธาตุปัจจเวกขณะ อิทธิวิธญาณปัจจเวกขณะ ฯลฯ เจโตปริยญาณปัจจเวกขณะ-
ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณปัจจเวกขณะ ฯะฯ ยถากัมมูปคญาณปัจจเวกขณะ
ฯลฯ พิจารณาอนาคตังสญาณปัจจเวกขณะ.
พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม
พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว, รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน.
บุคคลพิจารณาเห็นปริตตขันธ์ที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภ
ขันธ์นั้น ราคะที่เป็นปริตตารัมมณธรรม ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยปริตตจิต ที่เป็นมหัคคตา-
รัมมณธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.

ปริตตขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโต-
ปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ
แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[1574] 5. อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมา-
ณารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค พิจารณามรรค พิจารณาผล.
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยอัปปมาณจิต ที่เป็นอัปปมา-
ณารัมมณธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.
อัปปมาณขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่
เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[1575] 6. อัปปมาณารัมมธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตา-
รัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระอริยะทั้งหลายพิจารณาโคตรภู, พิจารณาโวทาน, พิจารณา
มรรคปัจจเวกขณะ, พิจารณาผลปัจจเวกขณะ, พิจารณานิพพานปัจจเวกขณะ.
บุคคลพิจารณาเห็นปริตตขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอิปปมาณารัมณธรรม
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ.
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยปริตตจิต ที่เป็นอัปปมาณา-
รัมมณธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.

ปริตตขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโต-
ปริญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ
แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[1576] 7. อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตารัมมณ-
ธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระอริยะทั้งหลายพิจารณาเจโตปริยญาณที่เป็นอัปปมาณารัมมณ-
ธรรม พิจารณาปุพเพนิวาสานุสสติญาณ พิจารณาอนาคตังสญาณ รู้จิตของ
บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมหัคคตจิตที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม ด้วยเจโต-
ปริยญาณ
มหัคคตขันธ์ที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ
แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย.

3. อธิปติปัจจัย


[1577] 1. ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณ-
ธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว กระทำกุศล
กรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.
กระทำกุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อนให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.